26 เมษายน 2550

เสียง

"คลื่นเสียงเป็นคลื่นตามยาว (longitudinal wave) เราสามารถใช้ออสซิลโลสโคป เพื่อดูรูปร่างของคลื่นเสียงได้ หูของมนุษย์เรา มีความสามารถในการตรวจจับคลื่นเสียง ในย่านความที่ที่กว้างมาก"

การแสดงรูปร่างของคลื่นเสียงโดยใช้ออสซิลโลสโคป
ไมโครโฟน คือ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงพลังงานจากคลื่นเสียงให้เป็นเป็นพลังงานไฟฟ้ากระแสสลับ ภายในไมโครโฟน จะมีแผ่นกระดาษบางๆ ที่เรียกว่า ไดอะแฟรม (diaphram) เมื่อคลื่นเสียง (คลื่นความดันของอากาศ) เคลื่อนที่มาถึง จะทำให้แผ่นไดอะแฟรม สั่นตามจังหวะของการอัดขยายของอากาศบริเวณด้านหน้าไมโครโฟน แผ่นไดอะแฟรม จะถูกยึดติดกับกระบอกของขดลวดที่วางอยู่ในแท่งแม่เหล็กอีกทีหนึ่ง การสั่นของแผ่นไดอะแฟรม ก็หมายถึงการสั่นของขดลวดในสนามแม่เหล็ก ซึ่งก็จะมีผลทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าสลับขึ้น (รายละเอียดจะได้ศึกษาในระดับชั้นที่สูงขึ้น) ไฟฟ้ากระแสสลับที่กระเพื่อมขึ้นลง ก็คือจังหวะการดูด-อัดของอากาศ หรือความถี่ของคลื่นเสียงนั่นเอง ส่วนความดังของเสียง ที่เข้ามาไมโครโฟนเมื่อแสดงออกในรูปของไฟฟ้า กจะอยู่ในรูปของศักดาไฟฟ้า (voltage)

สรุปง่ายๆ ก็คือ ไมโครโฟนจะแปลงพลังงานคลื่นเสียง ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า

และเมื่อส่งกระแสไฟฟ้านี้เข้าไปยังออสซิลโลสโคป เราก็จะเห็นรูปร่าง ของการเปลี่ยนแปลงของศักดาไฟฟ้า โดยที่บนหน้าจอของออสซิลโลสโคป จะแสดงแกน 2แกน ที่ตั้งฉากกัน แกนตั้งจะแสดงแอมพลิจูด ส่วนแกนนอนของออสซิลโลสโคปจะแสดงเวลา

จริงๆ แล้ว คลื่นเสียงเป็นคลื่นตามยาว แต่เมื่อถูกแปลงเป็นกระแสไฟฟ้าแล้ว ทำให้ดูเหมือน เป็นคลื่นตามขวาง แต่การแสดงเช่นนี้ก็เทียบเคียงไปยังคลื่นตามยาวได้

ระยะระหว่างสันคลื่นที่ติดกัน จะแสดงคาบเวลา (period) ซึ่งหมายถึงการสั่นของแผ่นไดอะแฟรมครบ 1 รอบ นั่นก็หมายความว่าหากสันคลื่นของกระแสไฟฟ้าอยู่ชิดกัน ก็หมายถึงคาบเวลามีค่าน้อย หรือความถี่มีค่ามากนั่นเอง (เพราะว่า คาบเวลา = ส่วนกลับของความถี่) ความถี่ ก็คือ จำนวนรอบของการสั่น ของแผ่นไดอะแฟรมต่อวินาที(s-1) ซึ่งก็หมายถึงความถี่ของคลื่นเสียงนั่นเอง ส่วนความสูงของยอดคลื่นเราเรียกว่า "แอมพลิจูด" ซึ่งจะเป็นการแสดงความดังของแสง ถ้าเสียงดังมากแอมพลิจูดที่ปรากฏบนจอออสซิลโลสโคป ก็จะสูงมาก

10 ความคิดเห็น:

  1. ผมเคยทำไม่โครโฟนตกอยู่ครั้งหนึ่ง เห็นกระดาบบางๆ ก็ไม่รู้คือกระดาษอะไร ก็เลยมาอ่านของอาจารย์ก็เลยรู้ แล้วผมก็ มีโอกาสได้ค้นหาความรู้เกี่ยวกับเสียง ก็เลยนำมา ให้อาจารย์ได้ดูครับ เสียงสำหรับหูมนุษย์มีความถี่ 20 - 20,000 เฮิร์ตซ์ เกิดจาก การสั่น ของวัตถุทำให้ตัวกลางเกิดเป็นส่วนอัดแลส่วน ขยาย มีคุณสมบัติการ สะท้อน การหักเห แทรกสอด และ เลี้ยวเบน อัตราเร็วของเสียงในอากาศ Vt = 331 + 0.6t Vt = ความเร็วของเสียงที่อุณหภูมิ t oC ความเข้มของเสียง คือ กำลังเสียงที่ตกกระทบในแนวตั้ง ากกับพื้นที่ ของหน้าคลื่นของทรงกลม 1 ตารางหน่วย
    ความเข้มสูงสุดที่มนุษย์ ทนได้ คือ 1 W/m2


    I = ความเข้มเสียง มีหน่วยเป็น วัตต์/ตารางเมตร (W/m2) P = กำลัง มีหน่วยเป็น วัตต์ R = ระยะห่างจากแหล่งกำเนิดเสียง (m)
    ระดับความเข้มของเสียง
    I = ความเข้มของเสียง หน่วยเป็น W/m2 I0 = ความเข้มของเสียงต่ำสุดที่คนเราจะได้ยิน 10-12 W/m2 = ระดับความเข้มเสียง หน่วยเป็น เดซิเบล (dB
    ข้อมูลที่ได้มา คลิกที่ http://www.bs.ac.th/lab2000/physicweb/sound.htm

    ตอบลบ
  2. ม.5/5
    ผมว่า มันค่อนข้างจะเข้าใจยาก และอาจารย์ ยังมีการพิมพ์ผิดอีก ผมก็ยิ่งปวดหัว

    ตอบลบ
  3. อ่านแล้วก้พอเข้าใจบ้างค่ะ

    ตอบลบ
  4. ม.5/5
    เนื้อหาค่อนข้างยาวนะครับ
    น่าจะมีภาพประกอบด้วยสักนิดก็ยังดี
    อยากทราบว่าคลื่นเสียงของสิ่งต่างเช่น เสียงสัตว์ร้อง
    เคาะไม้ เสียงพูด เสียงดนตรี เป็นคลื่นเสียงแบบเดียวกันหรือเปล่า เป็นเหมือนกับที่อาจารย์กล่าวไว้หรือไม่ช่วยอธิบายด้วยครับ..

    ตอบลบ
  5. น่าจะมีภาพประกอบการเปลื่ยนคลื่น

    ตอบลบ
  6. น่าจะสอนกับองค์การนาซ่านะครับจะลองเรียนดูผมคงเรียนอังกฤษเก่งขึ้นอาจไปต่างประเทศได้เลยสร้างชื่อเสียงกับครอบครัวเเละโรงเรียนครับ.../ -.- (ฝันไกลเนอะ)*_*

    ตอบลบ
  7. ไม่ระบุชื่อ27 พฤษภาคม, 2550 12:21

    เนื้อหาค่อนข้างยาวเกินไปควรสั้นกว่านี้น่าจะมีรูปภาพ
    ประกอบเพื่อดึงดูดใจน่าอ่านนะคะ

    ตอบลบ
  8. ดีมากเลยครับ เป็นการสรุปเอาเนื้อหาสาระที่สำคัญมาครับ ทำให้อ่านเข้าใจครับ รู้เรื่องมากขึ้น
    ม.5/2 ครับ

    ตอบลบ
  9. ไม่ระบุชื่อ17 มิถุนายน, 2550 13:43

    ขอบคุณสำหรับข้อมูลนะครับ อ่านแล้วเข้าใจดี แต่ขอความกรุณาคุณครูให้ใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายมากกว่านี้ เพราะบางคนที่เข้าใจยากจะไม่เข้าใจเนื้อหาในส่วนนี้ครับ เพื่อความแจ่มแจ้งของนักเรียน ขอบคุณมากๆครับ

    ตอบลบ