21 เมษายน 2550

แสงและเงา : กล้องรูเข็ม

เป็นกล้องที่ประกอบด้วยกล่องทึบแสง ด้านหนึ่งของกล่องเจาะรูขนาดเล็กมาก ประมาณเท่ากับปลายเข็ม จึงเรียกว่ากล้องรูเข็ม (pinhole camera) ผนังด้านตรงกันข้ามกับด้านที่เจาะรูจะเป็นฉากรับภาพ ดังแสดงในรูป


เมื่อแสงสว่างจากวัตถุ ผ่านเข้ารูเล็กๆ ด้านหน้าของกล้อง รังสีของแสงจะพุ่งไปกระทบที่ฉากด้านหลัง โดยรังสีที่พุ่งผ่านเข้าไป จะกลับด้านบนเป็นด้านล่าง ด้านล่างเป็นด้านบน ภาพที่เกิดจากรังสีแสงไปกระทบนี้ มีขนาดเล็กกว่าขนาดของวัตถุ อีกทั้งความสว่างของภาพก็จะมีน้อยแสงที่ออกจากวัตถุมาก ทั้งนี้ก็เพราะว่า รังสีแสงที่พุ่งออกจากวัตถุ ไม่ได้พุ่งผ่านรูด้านหน้ากล้องทั้งหมด มีเพียงแสงบางส่วนเท่านั้น ที่สามารถผ่านเข้าไปได้ แต่ภาพที่สมบูรณ์ก็สามารถเกิดขึ้นได้บนฉาก

หลายคนอาจสงสัยว่า แล้วทำไมไม่ทำให้รูรับแสงนี้ มีขนาดกว้างขึ้น ปัญหานี้หากใครเคยมีประสบการณ์บ้าง จะพบว่า การเพิ่มขนาดรูรับแสงของกล้องรูเข็มนี้ ผลที่เกิดขึ้นก็คือ ภาพที่ได้จะขาดความคมชัดไปอย่างมาก ถึงแม้ว่าภาพที่ได้จะสว่างขึ้นก็ตาม ที่ภาพเบลอร์ก็เพราะว่า รูรับแสงที่ใหญ่ขึ้น จะทำหน้าที่เหมือนมีทางที่ให้แสงผ่าน เข้าได้มากกว่าหนึ่งช่อง ทำให้ภาพเกิดการเหลื่อมล้ำกัน ผลรวมของมันจึงไม่คมชัดนั่นเอง

นับตั้งแต่มีการสร้างฟิล์มไวแสงขึ้นมา ฟิล์มไวแสงก็ถูกนำมาไว้ที่ตำแหน่งฉาก เมื่อนำฟิล์มไปผ่านกระบวนการ (process) ก็จะได้ภาพที่สมบูรณ์มาก เพียงแต่การช่วงเวลาของการบันทึกแสง หรือภาษาถ่ายภาพเรียกว่า ชัตเตอร์สปีด (shutter speed) จะใช้ค่ามากกว่ากล้องถ่ายทั่วไป ดังนั้นการถ่ายภาพด้วยกล้องรูเข็ม จึงจำเป็นต้องใช้ขาตั้งกล้อง (tripod) เสมอ

3 ความคิดเห็น:

  1. กล้องรูเข็ม ถ้ามันไม่มีแสงเข้ามันจะเกิดอะไรขึ้น
    ถ้าอยากให้ภาพมันใหญ่ขึ้นทำอย่างไรครับ แสดงว่าแสงเป็นตัวสำคัญในการทำให้ภ่พชัดใช่ใหมครับ

    ตอบลบ
  2. กล้องรูเข็มนั้นถ้าเราเจาะรูให้ใหญ่ขึ้นภาพที่เราเห็นก็จะไม่ชัดใช่ไหมคะ เพราะว่าแสงมันเข้าได้มาก

    ตอบลบ
  3. กล้องรูเข็มเป็นกล้องที่ต้องการแสงมากหรือน้อย

    ตอบลบ