ก่อนขึ้นเรื่องนี้ อาจารย์ทบทวนโมเดลปลาทูก่อน ซึ่งเป็นโมเดลการจัดการความรู้ของ สคส
ที่มา : เว็บไซต์ gotoknow.org
หัวปลา –> เป็นส่วนที่เป็น “วิสัยทัศน์” “เป้าหมาย”
ตัวปลา –> ….เป็นส่วน “หัวใจ” ที่ให้ความสำคัญกับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การช่วยเหลือ เกื้อกูลซึ่งกันและกัน ยกตัวอย่าง คนที่แกะสลักบานประตูวัดสุทัศน์ ที่ผู้สร้างสร้างเสร็จแล้วรุ้สึกปิติ รู้สึกสุดยอด รู้สึกว่าไม่มีงานชิ้นไหนที่ตนเองทำได้ จะดีไปกว่านี้อีกแล้ว ถึงกับโยนเครื่องมือต่างๆ ที่ทำงาน โยนทิ้งลงแม่น้ำเจ้าพระยา
หางปลา –> ส่วน “หางปลา” เป็นส่วนที่เป็นคลังความรู้ทำให้สามารถรวบรวม จัดเก็บความรู้ ได้อย่างเป็นระบบ ช่วยให้การเผยแพร่กระจายความรู้ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อเสนอการประยุกต์ใช้
ก่อนอื่น ต้องรู้มาตรฐานความรู้ของครูซะก่อน
- ภาษาและเทคโนโลยีสำหรับครู
ใช้ภาษาให้ถูกนะครู หลุดบ้างก็ไม่ว่ากัน - การพัฒนาหลักสูตร
มีระยะหนึ่งที่ให้ครูสร้างหลักสูตรเอง ตอนนี้ไม่ต้องเพราะมีหลักสูตรแกนกลาง … - การจัดการเรียนรู้ :
เรามีคำถามกับตัวเองไหมว่า เรามีการออกแบบการสอนได้กี่แบบแล้ว (ฮา) ก็สถาปนิกที่เขาออกแบบบ้านไง เขาออกแบบบ้านไว้ตั้งเยอะแยะก่อนที่เขาจะตายไป ไม่มีทางเป็นไปได้ ที่เขาจะมีแบบบ้านเพียงแบบเดียว - จิตวิทยาสำหรับครู
ครูได้ใช้ไหม ใช้ทีหลัง หลังจากด่าไปแล้ว (ฮา) เรียกว่า จิตวิทยามาทีหลัง (อารมณ์) - การวัดและประเมินผลการศึกษา
การวัดประเมินผลตามสภาพจริง นี่น่าสนใจมาก ดร.ไมเคิล บาร์เบอร์ ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้อย่างมาก ว่าต้องใช้วิธีนี้ - การบริหารจัดการในห้องเรียน
เคยใช้หลักในการจัดห้องเรียนไหม เช่น ให้อิสระภาพแก่เขาในการนั่ง หรือหลักมั่ว
พวกหลังห้องเป็นยังไง ตั้งใจเรียนน้อยกว่า หรือเปล่า แล้วครูใส่ใจพวกไหนมากกว่า นั่งคู่กันต้องทำไงให้เขาเรียนดีขึ้น
ครูได้เคยใส่ใจเกี่ยวกับเรื่องการจัดการห้องเรียนหรือเปล่า หรือปล่อยปละละเลย ใครใคร่เรียนๆ ใครใคร่หลับหรือเล่นก็ปล่อยไปหรือเปล่า ซึ่งความจริงไม่ใช่ ครูต้องจัดการห้องเรียนให้มีประสิทธิภาพ ให้การเรียนรู้เป็นไปอย่างราบรื่น
ดร.ไมเคิล บาร์เบอร์ บอกว่า การสอนซ่อมเสริม ต้องเปลี่ยนครูคนใหม่ เพราะมัมตกกับครูคนเดียวกันกับคนที่มาซ่อมเสริม ทัศนคติมันแย่ไปแล้ว (เป็นข้อเสนอที่ดีทีเดียว แต่จะทำได้หรือเปล่า ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง)
การศึกษาขั้นพื้นฐาน จบแล้วอ่านไม่ออก จบ ป.ตรี พออ่านออกเขียนได้ (ฮา) เดี๋ยวนี้เป็นอย่างนี้จริงๆ เมื่อก่อนจบ ม.6 เป็นครูได้เลยนะ แต่เดี๋ยวนี้เป็นไง จบ ม.6 อ่านไม่ออกมีไม่น้อยนะ เรายังเฉยๆ กันอยู่เหรอ บางคนบอก “ชินแล้ว” เราชินไม่ได้นะ เราเป็นนักการศึกษา - การวิจัยทางการศึกษา
ผ่านเร็ว - นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
ผ่านเร็ว - ความเป็นครู
เดี๋ยวนี้ มีการสอบวัดแววครู เขาวัดอะไรกัน
มีคำตอบว่า วัดความคิด ทักษะการคิด อนุกรมเลข อะไรพวกนี้ เป็น attitude test
แต่ความเป็นครู มันเป็นสิ่งที่อยู่ใน “จิต วิญญาณ เป็นอุดมการณ์”
มันอยู่ที่หัวปลา
ข้อเสนอต่อมา
- ขั้นตอน Socialization –> ให้ครูได้มีโอกาสพบประแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันอยู่เสมอ ทั้งทางตรงและทางอ้อม
ทางตรงก็เช่น การประชุม ถ้าทางอ้อม ก็เป็นการพูดคุย แบบไม่เป็นทางการ คุยสนุก อาจจะเริ่มจากนินทาผุ้บริหาร ลามไปนินทานักเรียน หรือเพื่อนครูด้วยกัน การเปิดโอกาสให้พวกเขาคุยกัน มันก็จะเป็นกระบวนการนี้แหละ นินทายังไง มันก็ต้องพูดเรื่องงานบ้างล่ะน่า อาจจัดห้องพักครูให้เขาได้คุยกัน
ดังนั้น
ผู้บริหารต้องหาสถานที่ เวลา ให้ครูได้เข้าไปคุยกัน จากการวิจัยพบว่าห้องนั้น ห้อง “เย็น เงียบ และมืด” แล้วใจเราจะสงบ เมื่อใจนิ่งมีสมาธิแล้วมันจะมีปัญญา แต่ที่โรงเรียนอาจจะทำห้องมืดไม่ได้ นี่จากการงานวิจัยนะ ลองเอาไปทำดู ลองหากาแฟ ขนมไปวางไว้บ้าง
บางโรงงานจะไม่มีโต๊ะของตนเองนั่งทำงาน คือไม่มีอาณาจักรของตนเอง แต่เขามีโนตบุค แต่ที่โรงเรียนไม่ใช่เช่นนั้น เป็นเรื่องใหญ่มาก แค่การเลือกที่นั่ง เลือกโต๊ะ เลือกสถานที่
การที่ทำให้เขามีที่คุยกัน จะทำให้ tacit knowledge มันไหลออกมา - ขั้นตอน Externalization –> ครูได้สรุปเทคนิค วิธีสอน ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนครูด้วยกัน กำหนดประเด็นที่จะบันทึกร่วมกัน อยู่ในรูปแบบ Focus Group
- ขั้นตอน Combination—> สนับสนุน ส่งเสริให้คณะครูนำ Explicit Knowledge ที่ได้ไปใช้จริง หรือลองเอาไปทำวิจัยในชั้นเรียน
- ขั้นตอน Internalization –> การเผยแพร่ Explicit Knowledge ที่พัฒนาขึ้นให้กระจายไปสู่ครูอื่นๆ ต่อไป
จัดเอกสารไว้อย่างเพียงพอในห้องสมุดครู
การนำประเด็นสำคัญในสาระความรู้ไปคุยกันในที่ประชุม
เมื่อครู ป. 3 ฒีข้อเสนอดีๆ ผอ. ก็เอามาเล่าให้ครูอื่นๆฟัง
เล่าให้ฟังเพิ่มเติม ภายหลังครู(อ.อรรณพ) จบ ป.เอก เพื่อนก็ถามว่าไปเรียนอะไรมาบ้าง ก็บอกว่าเมื่อครู assign งาน ให้ไปอ่านมาแล้วมาเล่าให้อาจารย์ฟัง อาจารย์เลยบอกว่า ลองจะเอาวิธีการนี้มาใช้ เลยบอกเพื่อนว่า เอาวิธีนี้ไปใช้ไหม เพื่อนบอกว่าดี ก็เลยทำกัน เวลาจะกินช้าวกันก็จะมีคนเป็นเหมือน keynote speaker เตรียมความรู้มาพูดกัน คนที่เป็นวิทยากรนั้น ก็จะไม่ต้องแชร์ค่าข้าวกับเพื่อน แล้วก็ผลัดกันไปเรื่อยๆ ดีนะ ลองไปทำดู
ลองเอาโมเดลปลาทูบ้างซิ
มีหัวปลารึยัง ก็ภาระงานเราไง เช่น
- ระบบการดูแลช่วยเหลือผู้เรียน
- การสอนซ่อมเสริม
- การโค้ชชิ่ง
- ….
- ….
คนส่วนใหญ่มักจะแลกเปลี่ยนกัน แต่ Explicit Knowledge ซึ่งเป็นความรู้ภายนอก ความจริงน่าจะมี tarcit ด้วย ประสบการณ์ส่วนตัว เป็นต้น
ข้อควรระวังในการทำ KS : Knowledge Sharing
- ให้แชร์ “เรื่องเล่า”
ไม่ใช่แชร์ “ความคิด” อย่าแชร์ทฤษฎี ความเชื่อ ค่านิยมต่างๆ - เป็น “การบอกเรื่องราว”
ไม่ใช่ “การแก้ปัญหา”
ไม่ใช่ “การวางแผน” - Share แล้วต้อง Learn
Learn แล้วต้อง Lead (นำ)
… นำสู่การกระทำ
… นำสู่ภาพที่ต้องการ
คลังความรู้
ส่วนของหางปลา หรือคลังความรู้ มีอยู่ 3 ส่วน
- เรื่องที่เล่า ประสบการณ์ต่างๆ (เป็นในส่วนที่เรียกว่า tarcit)
เขียนเป็นเรื่องราว คำพูด เช่น อยากรู้ว่านักเรียนได้ประโยชน์ในแต่ละวันจากการมาเรียนในแต่ละวันหรือไม่ แล้วก็เอามาบอกเล่า ครูคนนี้จึงสรุปเป็นความรู้ของเขาว่า ความรุ้ที่นักเรียนได้รับ ควรจะมีความหมาย หรือสอดคล้องกับเป้าหมายของเขา ทำให้เขาได้ทบทวนเป้าหมายตนเอง - การถอดบทเรียนที่ได้
เมื่อนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน จาก tarcit มันก็จะเริ่มออกมาเป็น explicit - แหล่งข้อมูล บุคคลอ้างอิง
อาจารย์ยกตัวอย่างอีกมากมาย น่าสนใจทีเดียว แต่บันทึกไม่ทัน ตัวอย่างหนึ่งก็คือ การวัดผลตามสภาพจริง การใช้ไอซีที มาจัดการเรียนการสอน
อาจารย์สรุปในสไลด์ท้ายๆ ว่า ครู ต้อง….ดี …. และ เก่ง
เก่งอะไร การสอน…. ดูแลนักเรียน….. จัดกิจกรรม….
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น