18 กันยายน 2554

การจัดการความรู้

พักนี้เนื้อหาที่ครูฟิสิกส์โพสต์ค่อนข้างมั่วและสับไปสับมา แต่ก็เป็นธรรมดาของครูในระดับมัธยมศึกษา ที่ไม่ได้ลงลึกไปในด้านใดด้านหนึ่งเสียทีเดียว แต่ความรู้จะเป็นแนวกว้างๆ

อาจารย์อรรณพ เป็นผู้บรรยายในเช้าวันนี้ พูดถึงเรื่อง “การจัดการความรู้” สำหรับสถานศึกษา (ปรัชญาของประกาศนียบัตรบัณฑิต คือ การนำไปประยุกต์ใช้ ไม่เน้นทฤษฎีนัก)

ประเด็นที่จะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเช้าวันนี้ ก็มี 4 ประเด็น

  • ความหมาย
  • คุณค่า
  • รูปแบบการจัดการความรู้
  • ข้อเสนอ การประยุกต์ใช้

ความหมาย (นพ.วิจารณ์ พานิช)

นพ.วิจารณ์ พานิช ถือเป็นกูรู หรือเป็นเอตะทัคคะทางด้านการจัดการความรู้ ท่านบอกไว้ว่า การจัดการความรู้ คือ

  • การรวบรวม การจัดระบบ การจัดเก็บ และการเข้าถึงข้อมูลเพื่อสร้างเป็นความรู้ โดยมีเทคโนโลยี ด้านข้อมูลและคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือช่วย
  • เกี่ยวข้องกับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
  • ต้องอาศัยผู้รู้ในการตีความและประยุกต์ใช้
  • ช่วยสร้างความมีชีวิตชีวาและความสำเร็จให้องค์กร

นอกจากนี้ ยังมีความหมายอื่นๆ อีก ตามนี้

  • การจัดการเพื่อเอื้อให้เกิดความรู้ใหม่
  • กระบวนการในการผสมผสานความสามารถของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการประมวลผลข้อมูลสารสนเทศ และความสามารถของคนเข้าด้วยกันอย่างเหมาะสม
  • เป็นกลยุทธ์และกระบวนกการในดารจำแนก จัดหาและนำความรู้มาใช้ประโยขน์เพื่อช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

คุณค่า

 

 

นิยามความรู้

Michael Polanyi and Ikujiro Nonaka แห่งมหาวิทยาลัย Hitotsubashi ประเทศญี่ปุ่น

ได้จำแนกความรู้ที่อยูกับ “คน” มีอยู่ 2 ลักษณะ

  • Tacit Knowledge –> เป็นความรู้ซ่อนเร้น (ภูมิปัญญา,ประสบการณ์)
    อาจารย์พูดได้น่าฟังมาก ว่าวิทยฐานะ ประสบการณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ความเป็นวิชาชีพชั้นสูง”
    วิทยฐานะ ไม่ใช่ขวัญและกำลังใจ แต่ตอนนี้ เรากำลังทำให้วิทยฐานะเป็นเหมือนการสงเคราะห์คนยาก  มันควรจะเป็นสิ่งซึ่งแสดงความเก่ง ความสามารถ ประสบการณ์ ความเป็นมืออาชีพที่มีอยู่ในตัวครูคนนั้น เช่นเดียวกับแพทย์เก่งๆ ที่ต้องเจอกับเคสยากๆ เคสยากๆ ต้องไม่ใช้แพทย์อินเทอร์น ดังนั้น ในการศึกษาถ้าเจอเคสยากๆ มันต้องครูเชี่ยวชาญ แต่ทุกวันนี้ ลองไปดูที่โรงเรียน เคสยากๆ กลายเป็นครูฝึกหัด ครูอัตราจ้าง ซะงั้น ;-p
  • Explicit Knowledge –> ความรู้เด่นชัด (วิทยาการ) ความรู้ที่เราเรียนกันทั้งหมดนี้แหละถือว่าเป็น explicit knowledge  ตัวอย่าง ก็เช่น ตำราอาหารต่างๆ ที่เขาทำขาย เราไปทำตาม บางทีก็ไม่อร่อย ต้องไปดูเทคนิคจริงๆ ของแม่ครัว(ซึ่งมันเป็น tacit knowledge) ซึ่งก็ทำให้เราทำอาหารได้ดีขึ้น

อีกอันหนึ่งซึ่งมันมีอยู่ เรียกว่า Embedded Knowledge : ซึ่งเป็นความรู้ที่ฝังอยู่ภายในองค์กร ตัวอย่างในโรงเรียนเช่น ครูเก่งๆ เรามีเยอะแยะ พวกที่พูดแล้วนักเรียนเชื่อฟัง ได้แรงบันดาลใจ ครูเหล่านี้บางทีเกษียณไปแล้วความรู้เหล่านี้ก็จะหายไปหากไม่มีการจัดเก็บข้อมูลเหล่านี้เอาไว้

Explicit Knowledge ที่เรามองเห็นเทียบได้เขาภูเขาน้ำแข็งแล้วก็คือส่วนที่มันโผล่มาเหนือน้ำ ส่วนอีกกว่า 90% นั้นจมอยู่ใต้น้ำซึ่งเป็นส่วนของ Tacit Knowledge ในฐานะที่เป็นผู้บริหาร(การศึกษา) คุณควรจะต้องทำให้ tacit knowledge ที่ฝังอยู่ในตัวคนนั้นแสดงออกมา หรือถ่ายทอดออกมาให้ได้

 

มาดูอีกโมเดลหนึ่ง

KM - เป็นเรื่องของการปะทะรังสรรค์ หรือที่เราเรียกว่า แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน จากโมเดลในช่อง Socialization จะเห็นว่ามีการทำ tacit ให้เป็น tacit ที่ชัดเจนขึ้น เพราะความรู้เมื่อมันได้รับการยืนยันจากสังคม เพื่อนร่วมงาน ความเชื่อมั่นในความรู้ที่อยู่ในตัวคนก็จะดีขึ้น จากนั้นเมื่อมันเข้าสู่ Externalization ในกระบวนการนี้ มันจะเริ่มกลายเป็น Explicit Knowledgeซึ่งมันเป็นการคอนเฟิร์มความรู้ที่อยู่ในตัวคนนั่นเอง ที่เขาเริ่มจะประกาศออกไปภายนอก ไม่ว่าจะเป็นการบรรยายบอกเล่า บ่อยๆ เข้ามันก็ยกระดับเข้าสู่กระบวนการ Combination มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบ ปรับปรุงให้ดีขึ้น เข้าใจง่ายขึ้น กลายเป็น Expicit Knowledge ที่ดีขึ้น เข้าสู่ Internalization ซึ่งความรู้ถูกขยายผล แผ่กว้างออกไป ผู้อื่นสามารถนำไปใช้ได้

 

กระบวนการจัดการความรู้ (สพฐ.)

เป็นการประยุกต์ KM ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไปใช้

  • การจัดระบบรวบรวมจัดเก็บความรู้
    - สร้าง เสาะหาความรู้
    พูดนอกเรื่องว่าเซอร์ไมเคิล บาร์เบอร์ จะมาพูดที่ไบเทคเกี่ยวกับเรื่อง การวัดผล ประเมินผล เกี่ยวกับการเรียนการสอนสมัยใหม่ สัปดาห์หน้า(ท้ายๆ เดือน ก.ย. 2554)  ซึ่งหน้าสนใจมาก
    สพฐ. สั่งอะไรต้องได้ตามนั้น ครูไทยเก่งมาก เช่น สั่งให้เอา best practice มาแสดงสั่ง 3 วันแล้วเอามาจัดแสดง ครูไทยก็ทำได้
  • การเข้าถึงความรู้
    - ช่องทางการสื่อสารที่ง่าย สะดวก จะใช้ช่องทางโดยผ่านคอมพิวเตอร์ หรือสร้างระบบสารสนเทศให้ทุกคนเข้าถึงกัน
  • การแบ่งปันความรู้
    - กิจกรรมกลุ่ม ประชุมสัมมนา
    จัดให้มีการประชุมสัมมนา ทั้งระบบเชิญคนมาประชุม หรือใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย การจัดระบบ KM ใช้ระบบสารสนเทศเยอะมาก

โมเดลปลาทู

สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (อาจารย์พักแค่นี้ เดี๋ยวหลังดื่มกาแฟแล้วมาต่อ)



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น