มีวิธีที่ง่ายกว่า ก็คือ ใช้จอแสดงผลของคอมพิวเตอร์มาทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์จากอาร์ดุยโน หรือใช้คีย์บอร์ดของคอมพิวเตอร์ป้อนข้อมูลลงไปในอาร์ดุยโน ซึ่งการจะทำเช่นนี้ได้ ต้องทำผ่านการติดต่อสื่อสารแบบอนุกรมโดยพอร์ต USB นั่นเอง
จุดประสงค์ของการเล่น
- เพื่อทำความเข้าใจกับการติดต่อสื่อสารระหว่างบอร์ดอาร์ดุยโนกับคอมพิวเตอร์ผ่านพอร์ตแบบอนุกรม
- เพื่อทำความเข้าใจกับการอ่านข้อมูลเข้าทางแอนะล็อก
ลุย
ต่ออุปกรณ์ดังภาพ
ครูเพิ่งหา VR แบบเกือกม้าเจอ ก็เลยเอามาใช้ในตัวอย่างนี้ซะเลย ใครมีแบบโวลุ่มก็เอามาใช้ได้เหมือนกันนะครับ ต่อด้านหนึ่งของ VR เข้ากับ 5 โวลท์ อีกด้านหนึ่งต่อเข้ากับกราวด์ ส่วนตรงกลางต่อเข้า A5 ของทางเข้าแอนะล็อก เสร็จแล้วก็เสียบสาย USB เข้าคอมพิวเตอร์ได้เลย
ครั้งนี้ ย้อนกลับมาเล่นกับโค้ดมาตรฐานที่อาร์ดุยโนเผยแพร่ดู



เราจะเห็นตัวเลขแสดงแรงดันไฟฟ้าปรากฏขึ้น แต่อาจวิ่งเร็วเกินไป จนดูไม่ทัน ลองเพิ่มบรรทัดคำสั่งนี้ ลงไปด้านล่างสุดของโปรแกรม
delay(1000);
แล้วอัพโหลดใหม่อีกครั้งหนึ่ง คราวนี้ก็จะเห็นตัวเลขวิ่งช้าลง หาไขควงปลายแฉกก็ได้ ปลายแบนก็ได้ ลองหมุน VR ดู ก็จะพบตัวเลขที่แปรเปลี่ยนไประหว่าง 0-5 หรือถ้าต้องการให้มีคำว่า volts ต่อท้าย ก็ให้แก้ไขโค้ดอีกเล็กน้อย ใน 2 บรรทัดสุดท้าย ดังนี้
Serial.print(voltage);
Serial.println(" volts");
delay(1000);
นี่คือผลลัพธ์ (ค่อยๆ หมุน VR ไปด้วย)

การทำงานของโปรแกรม
Serial.begin(9600);บรรทัดนี้แหละเป็นการตั้งค่าให้บอร์ดอาร์ดุยโนกับคอมพิวเตอร์สื่อสารกันได้ แล้วจากนั้นก็ ส่งข้อมูลจากบอร์ด ซึ่งในตัวอย่างจะเป็นการส่งค่าแรงดันไฟฟ้า เข้าไปแสดงบนในจอคอมพิวเตอร์ ผ่านคำสั่ง
serial.Println(voltage);
ส่วนค่า voltage เป็นค่าที่แปลงมาจากค่าแอนะล็อกอินพุทอีกที ซึ่งเรื่องนี้ครูได้อธิบายไปแล้ว ขอให้กลับไปอ่านดูนะครับ ครูทำลิงค์เอาไว้สำหรับคลิกหาง่ายๆ ด้านล่างนี้
ถ้ายังไม่เข้าใจอีก ก็ทิ้งคำถามไว้นะครับ
ขอบคุณที่ติดตาม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น