ครั้งนี้ให้ต่ออุปกรณ์ดังรูป แต่ก่อนอื่นควรถอดสาย USB ที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ก่อน ถอดออกเลยครับ ไม่ต้องคิดมาก เผื่อเวลาต่อสายไฟเกิดมันลัดวงจรจะเสียหายถึงคอมพิวเตอร์เรา
LED ตัวที่สองนี้ อาโนดถูกต่อเข้ากับช่องหมายเลข 5 (digital) ส่วนคาโทดต่อเข้ากับตัวต้านทาน 220 โอห์ม ส่วนของด้านหนึ่งของตัวต้านทานต่อเข้ากับกราวด์ซึ่งเราใช้สายโยงมายังต้วต้านทานตัวแรกได้เลยครับ แล้วมันจะมาลงกราวด์ที่บอร์ดด้วยกัน
ตรวจดูความเรียบร้อยอีกครั้ง ก่อนเสียบสาย USB เข้ากับคอมพิวเตอร์ แล้วดำเนินการ ดังนี้
- เปิด IDE
- เปิดไฟล์โปรแกรมที่เราได้แก้ไขไว้ เมื่อตอนที่แล้วขึ้นมา
- พิมพ์แก้ไขโปรแกรม ดังต่อไปนี้
- คลิกปุ่ม
เพื่อคอมไฟล์ ตรวจสอบ และอัพโหลด พร้อมกันเลยทีเดียว
คราวนี้ก็จะสังเกตเห็นหลอด LED ทั้งสองหลอดผลัดกันติด ผลัดกันดับช่วงเวลาละ 1 วินาที
อธิบายการทำงาน
ก่อนอื่นครูให้ข้อสังเกตว่า เราสามารถ Comment ด้วยภาษาไทยก็ได้นะครับ เพื่อให้เด็กๆ ที่ไม่ยังไม่ค่อยเก่งภาษาอังกฤษสามารถทำความเข้าใจกับโปรแกรมได้ แต่ครูก็ยังใช้ปนๆ กันอยู่ เพราะโปรแกรมต้นฉบับเดิมเขาคอมเมนต์เป็นภาษาอังกฤษ
ทีนี้มาดูส่วนส่วนแรก ซึ่งเป็นการประกาศตัวแปร ที่มีประเภทของตัวแปรเป็นจำนวนเต็ม โดยใช้คีย์เวิร์ดว่า int แล้วตามด้วยชื่อตัวแปร led1, led2 สำหรับเก็บหมายเลขพอร์ทดิจิทัล 10 และ 5 ตามลำดับ ส่วน delayTime1, delayTime2 สำหรับเก็บตัวเลขค่าหน่วงเวลาของการเกิดแสงสว่างของหลอดที่ 1 และ 2 ตามลำดับ
ต่อจากนั้นก็เป็นส่วน void setup() ซึ่งเป็นการตั้งค่าให้พอร์ทดิจิทัล ทำหน้าที่เป็นเอาท์พุทส่งค่าไปยังภายนอก
pinMode(led1, OUTPUT) ; //เป็นการเซ็ตพอร์ท led1 เป็นเอาท์พุด
pinMode(led2, OUTPUT); //เป็นการเซ็ตพอร์ท led2 เป็นเอาท์พุต
ส่วนที่สาม void loop() เป็นส่วนของการวนรอบการทำงานไม่สิ้นสุด ซึ่งก็จะเหมือนกับตัวอย่างในตอนที่แล้ว เพียงแต่ในตอนนี้ จะมีการควบคุมหลอด 2 หลอด โดยให้หลอดที่หนึ่ง led1 สว่างก่อน จากนั้นหน่วงเวลาตามค่าที่ตั้งไว้ที่ delayTime1 แล้วให้หลอดที่สอง led2 สว่าง จากนั้นก็หน่วงเวลาไว้อีกตามค่า delayTime2 จากนั้นก็ปิด แล้ววนรอบกลับไปทำซ้ำใหม่ ..... เรื่อยๆ ไม่รู้จบ
หากเราต้องการเปลี่ยนจังหวะการหน่วงเวลา ก็ทำได้โดยการแก้ไขค่าของตัวแปร delayTime1 กับ delayTime2 เราก็จะได้รูปแบบการกระพริบที่แปลกๆ ออกไปอย่างง่ายดาย
คงพอมองเห็นภาพของการใช้พอร์ทดิจิทัลสำหรับการส่งข้อมูลออก(OUTPUT) กันบ้างแล้วนะครับ ซึ่งจะเป็นพื้นฐานสำคัญในการเรียนรู้ต่อไป
แล้วพบกันใหม่ครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น