ว่าแต่ว่า "ฟายน์แมน" เป็นใคร
![]() |
Richard Feynman(1918-1988) |
“ผมเรียนรู้มาตั้งแต่เริ่มแรกแล้ว ถึงความแตกต่างระหว่าง การรู้จักชื่อ กับ การรู้บางสิ่งบางอย่างของมัน” - Richard Feynmanรู้จักฟายน์แมนแล้ว ทีนี้มารู้จักเทคนิคของฟายน์แมนจะช่วยให้เรา "เข้าใจ" "จำได้" และ "อธิบายได้" เทคนิคนี้ง่ายมาก เชื่อว่าไม่เกิน 20 นาที เราจะเข้าใจและนำไปปฏิบัติได้
เทคนิคนี้วางอยู่บนพื้นฐานความเห็นของฟายน์แมนต่อการเรียนรู้ ว่า การเรียนรู้ไม่ใช่การจำในสิ่งยากๆ แต่มันเกี่ยวกับการทำสิ่งต่างๆให้ง่ายขึ้น(ต่อการทำความเข้าใจ)
1) เลือกหัวข้อวิชาที่ต้องการเรียนเก่ง
เลือกหัวข้อที่เราจะเรียนรู้ อะไรก็ได้ ไม่ว่าจะเป็น ความโน้มถ่วง หรือ ระบบสุริยะจักรวาล หรือแม้แต่ การปลูกผัก การเลี้ยงหมู เทคนิคของฟายน์แมนสามารถนำไปใช้ได้หมด2) อธิบายให้ตัวเองฟัง ประหนึ่งว่าตัวเองอายุสัก 5 ขวบ
ทำให้ตัวเองเป็นผู้ฟัง ฟังตัวเองพูด และตัวผู้ฟังมีอายุเพียง 5 ขวบ เมื่อเป็นเช่นนี้ สิ่งที่เราต้องพูดคือ ไม่ใช้ ศัพท์แสงชั้นสูง เช่นคำว่า อิเล็กตรอน นิวเคลียส สิทธิมนุษยชน เป็นต้น เราจะใช้คำศัพท์ง่ายๆ ที่เด็กๆ นั้นรู้จัก อาจใช้เครื่องมือการสื่อสารอย่างอื่นๆ นอกเหนือไปจากการพูดก็ได้ เช่น วาดรูปทรงง่ายๆ ประกอบ เป็นต้น3) หาจุดที่ยังไม่แจ่มชัด
ถ้าเราไม่สามารถหาคำอธิบายทฤษฎีหรือแนวคิดในรูปของภาษาของคนธรรมดาๆ ฟังแล้วเข้าใจ ให้เราหันกลับไปหาหนังสืออีก(หรือจะถามครู ก็น่าจะได้นะครับ) ทำความเข้าใจมันให้ถ่องแท้ แล้วพยายามสร้างคำอธิบายจากคำง่ายๆ ให้ได้ สิ่งนี้ล่ะมันจะทำให้เราเข้าใจอย่างแท้จริง ไม่ใช่การอ่านเพียงผ่านๆ เหมือนที่เคยทำมา4) ใช้การอุปมาอุปมัย
ถ้าเป็นการทำความเข้าใจกับเนื้อหาที่ยากและเป็นนามธรรม เกินกว่าที่เด็ก 5 ขวบจะเข้าใจได้ ให้พยายามใช้การอุปมาอุปมัย หรือเปรียบเทียบเปรียบเปรยกับบางสิ่งบางอย่างที่เด็กมีประสบการณ์มาแล้วเป็นอย่างดี อาจมีการหยิบเอาข้าวของเครื่องใช้ในบ้านนำมาเปรียบเทียบเปรียบเทียบด้วยก็ได้ เทคนิคนี้ จะช่วยให้เราเชื่อมโยงความรู้ใหม่ให้เข้าสิ่งที่เรารู้มาก่อนแล้วเป็นอย่างดี แล้วเราก็จำมันได้อย่างไม่มีวันลืม5) ทำข้อสรุปให้เรียบง่าย
ถ้าในบทสรุปของเนื้อหายังคงยากที่จะเข้าใจ พยายามทำมันให้ง่ายขึ้นมาอีก บางทีมันจะดีกว่าถ้าปล่อยให้รายละเอียดบางอย่างสูญหายไปบ้าง แต่จำส่วนสำคัญๆ ได้ ดีกว่าลืมมันทั้งหมดเพราะไม่ยอมตัดรายละเอียดออกไปตัวอย่างข้อสรุป
ความโน้มถ่วงเป็นแรงดึงดูดที่วัตถุขนาดใหญ่กระทำต่อวัตถุขนาดเล็ก เหมือนโลกกระทำกับตัวเราไง
วรรณกรรม คือ หนังสือที่เขียนเล่าเรื่องราว ที่บอกถึงความคิดเห็น ความรู้ที่ตัวละครหลักๆ ในเรื่องนั้นแสดงออกมา
บอนไซเป็นต้นไม้ย่อส่วน ซึ่งก็เหมือนกับจักรยานของเด็กเล็ก มันทำงานได้เหมือนกันกับสิ่งของที่มีขนาดใหญ่เพียงแต่ขนาดของมันเล็กลง
เทคนิคเหล่านี้เอามาใช้ตอนไหน
ใช้ได้ตลอดเวลา ใช้มันเพื่อที่จะอธิบายสิ่งต่างๆ กับตัวเราเอง เมื่อเรากำลังศึกษา ใช้มันในการอธิบายสิ่งยากไปยังผู้อื่น ใช้นำเสนองาน หรือแม้แต่หรืออธิบายให้กับเด็กๆ ที่บ้านของเราเอง
เทคนิคเหล่านี้เอามาใช้ตอนไหน
ใช้ได้ตลอดเวลา ใช้มันเพื่อที่จะอธิบายสิ่งต่างๆ กับตัวเราเอง เมื่อเรากำลังศึกษา ใช้มันในการอธิบายสิ่งยากไปยังผู้อื่น ใช้นำเสนองาน หรือแม้แต่หรืออธิบายให้กับเด็กๆ ที่บ้านของเราเอง
ลองเอาไปใช้ดูนะครับ ได้ผลเป็นยังไงเล่าให้ครูฟังบ้าง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น