09 พฤษภาคม 2553

รังสีเอกซ์ (x-rays)

ปี ค.ศ.1895 ย้อนหลังไปสิบปี เมื่อเทียบกับปีที่ไอน์สไตน์เริ่มโด่งดังในวงการ ในปีนั้น เรินต์เกน ได้ค้นพบรังสีประหลาด โดยบังเอิญ ด้วยความที่รังไม่รู้ว่ามันคือรังสีอะไร เลยตั้งตัวแปร x (เอกซ์) เอาไว้ก่อน ต่อมาภายหลังรู้แล้วว่ามันก็คือคลื่นแม่เหล้กไฟฟ้าที่มีพลังงานสูงมาก ก็ไม่มีใครไปเปลี่ยนชื่อมัน ยังเรียกมันเหมือนเดิมว่า รังสีเอกซ์ (X-rays)

มีอาจารย์ที่เข้าร่วมอบรมท่านหนึ่งถามว่า ทำไมตะกั่วกั้นรังสีเอกซ์ได้ดี อาจารย์ก็ตอบแต่บันทึกไม่ทัน เลย google ได้คำตอบอยูที่นี่

http://wiki.answers.com/Q/Why_does_lead_block_radioactivity

 

การอธิบายการเกิดของรังสีเอกซ์มีสองวิธี

  1. ใช้ทฤษฎีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ายุคเก่ามาอธิบาย-- เป็นรังสืเอกซ์ที่ได้จากหลอดที่มีความถี่ของรังสีอย่างต่อเนื่อง คำอธิบายในส่วนนี้อธิบายได้ดังภาพ

    กระบวนการนี้เรียกว่า Bremsstrahlung สเปกตรัมของรังสีเอกซ์ที่ได้ ก็จะแสดงดังภาพ

    อิเลกตรอนบางตัวอาจชนนิวเคลียสแล้วหยุดเลย ทำให้พลังงานจลน์ของอิเลกตรอนกลายเป็นพลังงานของรังสีเอกซ์ทั้งหมด ดังนี้น
    K.E.max = hf
    eV = hf
    f = eV/h
    ถ้าทำให้เป็นความยาวคลื่นก็จะได้
    c/&lambda = eV/h หรือ lamda(min)=hc/eV
  2. หลอดรังสีเอกซ์แบบเฉพาะตัว หรือแบบไม่ต่อเนื่อง วิธีการคำนวณก็จะแปลกๆ หน่อย ดังนี้
    E=hf = Ei-Ef
    กราฟที่ได้จากหลอดเอกซ์เรย์แบบนี้ จะเป็นดังภาพ
      

 

ดูลักษณะของหลอดรังสีเอกซ์แบบต่างๆ

ความหลากหลายของหลอดเอกซ์เรย์มีค่อนข้างมาก (เพราะมันมีหลายเจ้า หลายสำนัก ทำออกมาขาย เทคโนโลยีที่ใช้จึงแตกต่างกัน) แต่ทั้งหมดต่างที่อาศัยหลักการอย่างที่ได้บรรยายมา

เรินต์เกน เป็นนักฟิสิกส์คนแรกที่ได้รับรางวัลโนเบล (ในปี 1901)



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น