แรงแม่เหล็กเป็นแรงที่น่าฉงน หากเราแขวนมันไว้โดยอิสระ แนวของแม่เหล็กชี้ไปทางด้านเดิมเสมอ เมื่อนำไปวางไว้ใกล้ๆ วัสดุใด วัสดุบางชนิดจะถูกดูดโดยแม่เหล็ก แต่วัสดุบางชนิดก็ไม่ถูกดูด ในขณะที่เมื่อนำแม่เหล็กเองมาวางใกล้กันบางด้านก็ดูดกัน บางด้านก็ผลักกัน ???
ขั้วแม่เหล็ก
เมื่อวางแท่งแม่เหล็กลงในผงตะไบเหล็ก ผงตะไบเหล็กจะถูกดูดและกระจุกกันอยู่บริเวณตอนปลายของแม่เหล็ก ดังรูปที่ 1 จนดูเหมือนว่าแรงดูดของแม่เหล็กเกิดที่ปลายของแม่เหล็กเท่านั้น ที่ปลายนี่เองที่เป็นขั้วแม่เหล็ก ซึ่งมีอยู่ 2 ขั้ว ทั้งสองขั้วต่อกันอยู่ด้วยแกนแม่เหล็กรูปที่ 1 |
รูปที่ 2 |
ถ้านำขั้วเหนือของแม่เหล็กมาไว้ใกล้ๆ กันดังรูป 3
จะมีแรงผลักเกิดขึ้นระหว่างขั้วแม่เหล็ก ในทำนองเดียวกันถ้าทำการทดลองเช่นเดียวกันนี้ระหว่างขั้วใต้กับขั้วใต้ ผลการทดลองก็จะเป็นเช่นเดียวกัน แต่ถ้าทำการทดลองกับขั้วแม่เหล็กที่ต่างกัน แม่เหล็กจะดูดกัน
รูปที่ 3 |
ทดสอบขั้วแม่เหล็ก
คุณสมบัติการผลักกันของขั้วแม่เหล็กที่เหมือนกัน สามารถนำมาใช้ในการทดสอบขั้วแม่เหล็กได้ ถ้าเราทราบขั้วแม่เหล็กที่จะนำไปทดสอบ เช่น ถ้าเราปลายหนึ่งของแม่เหล็กที่รู้ว่าเป็นขั้วเหนือ เมื่อไปทดสอบปรากฏว่าผลักกับปลายด้านหนึ่งของแม่เหล็กที่ไม่ทราบขั้ว ก็สรุปได้ว่าขั้วแม่เหล็กที่นำมาทดสอบนั้นเป็นขั้วเหนือ เป็นต้นสารแม่เหล็ก
แม่เหล็กจะดูดวัสดุบางอย่าง เช่น เหล็ก เหล็กกล้า ทั้งนี้เนื่องจากวัสดุนั้นสามารถเหนี่ยวนำให้มีคุณสมบัติเป็นแม่เหล็กได้ แม่เหล็กจะเหนี่ยวนำให้วัสดุทั้งสองมีสภาพเป็นแม่เหล็ก โดยด้านที่อยู่ใกล้แม่เหล็ก จะเป็นด้านตรงข้ามกับแม่เหล็ก และด้านที่อยู่ห่างจากแม่เหล็กจะมีขั้วเหมือนกับแท่งแม่เหล็ก เมื่อนำวัสดุทั้งสองออกจากแท่งแม่เหล็ก ปรากฏว่าแท่งเหล็กธรรมดาจะสูญเสียความเป็นแม่เหล็กไป ส่วนเหล็กกล้าจยังคงมีสภาพเป็นแม่เหล็กอยู่ต่อไปการทำแม่เหล็ก
ทำจากแม่เหล็ก (stroking method) ถึงแม้ว่าการนำเหล็กกล้ามาสัมผัสกับแท่งแม่เหล็ก จะทำให้เกิดอำนาจแม่เหล็กบนแท่งเหล็กกล้าได้ แต่อำนาจแม่เหล็กนี้จะมีค่าน้อยมาก ถ้าต้องการให้เหล็กกล้านี้มีอำนาจแม่เหล็กมากขึ้น ทำได้โดยการสัมผัสและหมุนวนดังรูป 5 โดยจะต้องทำซ้ำหลายๆ ครั้งในทิศทางเดิมรูปที่ 5 |
รูปที่ 6 |
ขดลวดนั้นสร้างมาจากลวดตัวนำที่หุ้มฉนวนภายนอกนำมาขดเป็นวงรอบแกนเป็นจำนวนหลายร้อยรอบ ดังรูป 6 ขั้วของแม่เหล็กสามารถหาได้โดยการใช้ "กฎมือขวา" ดังรูป 7
รูปที่ 7 |
วัสดุที่มีอำนาจแม่เหล็กและไม่มีอำนาจแม่เหล็ก
วัสดุที่สามารถนำมาสร้างให้มีอำนาจแม่เหล็กได้ดีนั้น เดิมทีจะเป็นวัสดุที่ถูกดูดโดยแม่เหล็กได้ง่าย ซึ่งโดยทั่วไปวัสดุนั้นจะประกอบไปด้วยโลหะบางประเภทเช่น เหล็ก นิเกิ้ล โคบอลท์ เหล็กกล้า หรือโลหะผสมซึ่งมีเหล็กเป็นส่วนผสม วัสดุที่สามารถนำมาเหนี่ยวนำให้เกิดอำนาจแม่เหล็กถาวรได้ดีเหล่านี้ เรียกว่า เฟอร์โรแมกเนติก (ferromagnetics) ซึ่งสารประเภทนี้ยังแยกออกเป็นประเภทที่ให้อำนาจแม่เหล็กเข้มและอ่อน ตามลักษณะของแรงดูดที่ได้ตัวอย่างแม่เหล็กชนิดต่างๆ |
วัสดุที่ให้อำนาจแม่เหล็กอย่างเข้ม เช่น เหล็กกล้า อัลโคแมกซ์ (โลหะผสมเหล็กกล้า) เป็นโลหะที่สร้างให้มีอำนาจแม่เหล็กได้ยาก แต่เมื่อสร้างได้แล้วจะมีความถาวรของการคงสภาพแม่เหล็กไว้ได้นาน ดังนั้นวัสดุประเภทนี้จึงเหมาะที่จะนำมาสร้างเป็นแม่เหล็กถาวร
วัสดุที่ให้อำนาจแม่เหล็กแบบอ่อน เช่น เหล็ก และมิวเมทอล (โลหะผสมนิเกิ้ล) เป็นวัสดุที่สร้างอำนาจได้ง่าย แต่อำนาจแม่เหล็กนี้จะอยู่ไม่ถาวรหรือสูญเสียสภาพความเป็นแม่เหล็กได้ง่าย
ทฤษฎีของการเหนี่ยวนำแม่เหล็ก
ถ้าหักเหล็กกล้าที่ถูกสร้างให้เป็นแม่เหล็กออกเป็นชิ้นเล็กๆ ดังรูป 9 เราจะพบว่าเหล็กกล้าชิ้นเล็กๆ เหล่านี้ก็จะยังคงมีสภาพความเป็นแม่เหล็กอยู่ เมื่อทำให้แม่เหล็กนี้เล็กที่สุดจะพบว่าแม่เหล็กเกิดจาการวางตัวในแนวเดียวกันของโมเลกุลของมันเองรูปที่ 9 |
สารเฟอร์โรแมกเนติก โมเลกุลแม่เหล็กอยู่เป็นจำนวนมากและเมื่อมันวางตัวอยู่ในแนวเดียวกัน จะเกิดเป็นกลุ่มของโมเลกุลแม่เหล็กขึ้น ซึ่งเรียกว่า
โดเมนแม่เหล็ก ถ้าโดเมนเหล่านี้วางตัวไม่เป็นระเบียบ วัสดุนั้นก็จะยังไม่แสดงอำนาจแม่เหล็กออกมา แต่เมื่อมีการแมกเนไตซ์แล้ว จะทำให้โดเมนเหล่านี้วางตัวกันใหม่ในทิศทางเดียวกัน ซึ่งจะทำให้วัสดุนั้นเป็นมีอำนาจแม่เหล็กได้
รูปที่่ 10 |
แต่เมื่อสารเฟอร์โรแมกเนติกซ์นี้ ได้รับการแมกเนไตซ์แล้ว จะทำให้โดเมนแม่เหล็กจัดวางตัวกันใหม่ มีระเบียบมากขึ้น ขั้วของโดเมนแม่เหล็กจะชี้ไปทางเดียวกัน ซึ่งแสดงได้ดังรูปที่ 10 (ข) ผลรวมของโดเมนแม่เหล็กย่อย ๆ ที่มีระเบียบเหล่านี้ ทำให้เกิดเป็นขั้วแม่เหล็กที่มีความเข้มของสนามแม่เหล็กมากขึ้น และเมื่อโมเลกุลแม่เหล็กทุกโมเลกุลต่างวางตัวไปในแนวเดียวกันเช่นนี้ จะเรียกสภาวะเช่นนี้ว่า สภาพอิ่มตัวของแม่เหล็ก(magnetically saturated) กล่าวคือ ในภาพนี้เป็นสภาพที่สารแม่เหล็กแสดงความความสามารถในการเป็นแม่เหล็กได้มากที่สุด ไม่สามารถทำให้มีอำนาจแม่เหล็กได้มากไปกว่านี้อีก
สภาพความเสื่อมของแม่เหล็ก(Demagnetization)
แม่เหล็กอาจเสื่อมสภาพลงได้เอง เมื่อแม่เหล็กได้รับความร้อนมาก ๆ เนื่องจากความร้อน จะทำให้โมเลกุลแม่เหล็กเกิดการสั่นและเมื่อสั่นแล้วก็อาจมีการวงตัวในทิศทางใหม่ ทำให้ทิศทางของขั้วโมเลกุลแม่เหล็กเปะปะ ไร้ทิศทาง ไม่มีระเบียบ เหตุการณ์คล้าย ๆ กันนี้ อาจเกิดขึ้นกับกรณีที่แม่เหล็กได้รับแรงมาก ๆ เป็นเวลานาน ๆ เช่น การใช้ค้อนทุบดี การตกจากที่สูงบ่อย ๆ เป็นต้นถ้าต้องการทำให้แม่เหล็กเสื่อมสภาพด้วยความตั้งใจ วิธีการที่ดีที่สุดคือ การใช้ขดลวดโซลินนอยด์ ที่ผ่านไฟฟ้ากระแสสลับให้กระแสไฟฟ้ามีค่ามาก ๆ วิธีการเช่นนี้ทำให้สภาพความเป็นแม่เหล็กอ่อนลงได้ เช่นกัน