เมื่อมีการสะบัดเชือกอย่างต่อเนื่อง ทางด้านซ้าย ลูกคลื่นก็จะเคลื่อนไปทางขวา ส่วนสูงของเชือก ที่สะบัดไปทางด้านบน เมื่อวัดจากแนวเดิมของเชือก ต่อไป เราจะเรียกว่า "แอมพลิจูด" แอมพลิจูด ที่จริงแล้วก็คือ การกระจัดที่มากที่สุดของอนุภาคตัวกลาง เมื่อวัดจากตำแหน่งเดิมนั่นเอง (แอมพลิูจูด จะวัดจากแนวเดิมไปยังด้านบน หรือด้านล่างก็ได้)
ตำแหน่งที่อยู่สูงสุดของเชือก เรียกว่า "สันคลื่น" ส่วนด้านล่างเรียกว่า "ท้องคลื่น" เมื่อวัดระยะจาก สันคลื่นไปยังสันคลื่น ระยะนี้ก็คือ "ความยาวคลื่น" ซึ่งใช้สัญลักษณ์
การสั่นของเชือก จะขึ้นอยู่กับจังหวะการสั่นของเราเอง จังหวะของการสั่นนี้ หากเราเทียบต่อเวลา เราก็เรียกว่า "ความถี่" เช่น ถ้าเราสะบัดเชือกขึ้นลง 5 ครั้งต่อวินาที นี่ก็คือความถี่ของคลื่นนั่นเอง
ในห้องปฏิบัติการฟิสิกส์ เกี่ยวกับคลื่นจะมีชุดถาดคลื่น ซึ่งมีมอเตอร์เป็นชุดกำเนิดคลื่น มอเตอร์นี้จะไม่สมดุลเมื่อหมุน 1 รอบมันจะสั่น 1 ครั้ง ดังนั้นความเร็วรอบของมอเตอร์ (ซึ่งสามารถปรับได้ โดยการปรับแรงเคลื่อนไฟฟ้า) ก็คือความถี่ของคลื่นน้ำนั้นนั่นเอง

หน่วยของความถี่ก็คือ ต่อวินาที (s-1) หรือเฮิร์ตซ์ (Hz)
ม.5/5
ตอบลบแอมพลิจูด คือกระจัดที่มากที่สุดของตัวกลาง
คือระยะทางที่คลื่นเคลื่อนที่ได้ ใช่ใหมครับ
แอมพลิจูด คือ ระยะทางที่คลื่นเคลื่อนที่ใด้จากจุดเริ่มต้นไปจุดสุดท้ายใช่ใหมครับ
แอมพลิจูดคือ การกระจัดที่มากที่สุดของอนุภาคตัวกลางตัวกลางเมื่อวัดจากตำแหน่งเดิม การวัดความยาวของคลื่นนั้น เราต้องวัดจากสันคลื่นไปยังสันคลื่น
ตอบลบ5/5
ตอบลบถ้าสันคลื่นของแต่ละสันไม่เท่ากันเราจะหาแอมพลิจูดได้ยังไง
คลื่นมีการเคลื่อนที่ตลอดเวลา
ตอบลบอาจารย์น่าจะทำโครงการที่ให้นักเรียนนำน้ำมันพืชที่ใช้เเล้วมาเเลกเงินหรือคะเเนนก็ได้เพื่อนำน้ำมันไปทำ BIO DEISEL นะครับเเล้วขายในราคาถูกๆเป็นการนำน้ำมันมาใช้ไม่ต้องทิ้งครับ*-*
ตอบลบม.5/4
ตอบลบท้องคลื่น คือ ด้านล่างที่เว้าลงไปที่อยู่ระหว่างสันคลื่นหนึ่งกับอีกสันคลื่นหนึ่ง หรือ เปล่าคะ